ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัด
วิสัยทัศน์ "ชาวอุทัยธานี กินดี อยู่ดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี"


เป้าประสงค์รวม (ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัด)

1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร
2. พัฒนาการเกษตรสร้างความสมดุลและฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. พัฒนาการคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. พัฒนาองค์กรสู่ธรรมาภิบาล และสร้างความร่วมมือกับทุกท้องถิ่น
6. ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
8. พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขตามเกณฑ์มาตรฐานและส่งเสริมการป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ

ตัวชี้วัดรวมความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนา
1. ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่
2. การพัฒนาเกษตรกรปลอดภัย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ราษฎร
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี การศึกษา และการกีฬาให้แก่ประชาชน
5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน
6. มีการพัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุขและงานด้านสาธารณสุข

เป้าหมายการพัฒนา
1. พัฒนาถนน/สะพานที่ได้มาตฐานและปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

2. การบริหารจัดการให้มีน้ำอุปโภค-บริโภค
อย่างเพียงพอ

3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. จำนวนถนนที่ก่อสรา้ง ระยะทางไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร/ปี
2. จำนวนถนนที่ได้รับการซ่อมแซม บำรุงรักษา ระยะทางไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตร
3. จำนวนท่อลอดที่ก่อสร้าง/ซ่อมแซม บำรุงรักษา ไม่น้อยกว่า 5 แห่ง/ปี
4. จำนวนสะพานที่ได้รับการซ่อมแซม บำรุงรักษาเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
5. จำนวนประปา/แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 4 แห่ง/ปี
6. จำนวนเครือข่ายบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 เครือข่าย/ปี

แนวทางการพัฒนา
1. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคโดยบูรณาการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ
3. มีการจัดตั้งเครือข่ายบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม
4. บูรณาการ การทำงานร่วมกันกับทุกหน่วยงาน

เป้าหมายการพัฒนา
1. ผลิตผลทางการเกษตรมีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์
3. แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภคมีคุณภาพอยู่ในค่ามาตรฐาน
4. สามารถบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและเเหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. จำนวนเครือข่ายเกษตรปลอดภัยปีละ 2 เครือข่าย
2. ร้อยละของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และได้รับการดูแลรักษา ป้องกัน
3. การตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักเพื่อให้อยู่ในค่ามาตรฐาน 4 ครั้ง/ปี
4. ขยะอันตรายได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมอาชีพการเกษตรและผลิตภัณฑ์ ด้านการเกษตรปลอดภัย
2. ส่งเสริมแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน
4. ส่งเสริมและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
5. บูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐในการเฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพน้ำในแม่น้ำสะแกกรังและคลองสาขา
6. มีการบริหารจัดการและการนำขยะอันตรายไปกำจัดอย่างเป็นระบบ

เป้าหมายการพัฒนา
1. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน
2. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3. ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัด
4. ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนดูแล รักษาแหล่งท่องเที่ยว และอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
5.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่ความยั่งยืน

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่ม ไม่น้อยกว่าร้อยละ2
2. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นปีละ 1 แห่ง
3. จำนวนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวปีละ 3 กิจกรรม
4. การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนปีละ 1 แห่ง

แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนควบคู่ไปกับการส่งเสริมการตลาดเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศาสนา วัฒนธรรมและเชิงอนุรักษ์
3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและมีกลไกการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโยชุมชน
4. ส่งเสริมและสนับสนุนระบบสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน

เป้าหมายการพัฒนา
1.เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา การกีฬา นันทนาการ

3. เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. เพื่อสร้างสังคมที่มีความเข้มแข็ง

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1.จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2 ครั้ง/ปี
2. จำนวนครั้ง/กลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและเรียนรู้ของเด็กเยาวชน และชุมชน 4 ครั้ง/ปี
3. จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ 4 ครั้ง/ปี
4. จำนวนครั้งที่จัดกิจกรรมด้านประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ครั้ง/ป

แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีมีสุข ปราศจากยาเสพติด ลดปัญหาการใช้ความรุนเเรงในชุมชน ครอบครัวและสังคม
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
3. ส่งเสริมและปลูกฝังการรักษาวินัย หน้าที่ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในท้องถิ่น
5. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
6. ส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ และฟื้นฟู ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของชุมชน
7. ส่งเสริมให้ความรู้ด้านภาษาให้แก่ ประชาชนในท้องถิ่นในการเป็นประชาคม อาเซียน

เป้าหมายการพัฒนา
1.เพื่อให้อบจ.อุทัยธานีเป็นหน่วยงานหลักในการบริการสาธารณะ เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยใช้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการบริการ
3. อบจ.อุทัยธานีผ่านเกณฑ์การประเมิณคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1.จำนวนกิจกรรมบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น 1 กิจกรรม/ปี
2. ประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง/ปี
3. จำนวนครั้งที่ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ 2 ครั้ง/ปี
3. ผลการประเมิณ LPA ของ อบจ.อุทัยธานีผ่านเกณฑ์การประเมิณ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
4. ผลการประเมิณ ITA ของ อบจ.อุทัยธานีผ่านเกณฑ์การประเมิณ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการบริการสาธารณะ
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการ
3. ส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองตามหลักธรรมาภิบาล
4. พัฒนาประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
5. ส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการของ อปท.
6. ส่งเสริมกระบวนการทำงานเพื่อนำไปสู่ นโยบายไทยแลนด์ 4.0
7. ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

เป้าหมายการพัฒนา
1. การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน
2. การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
3. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
4. การส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนไทยประยุกต์
5. การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
6. การบริหารจัดการและพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อผู้ป่วย
7.การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. จำนวนครั้งของการจัดกิจกรรม/โครงการด้านสาธารณสุขมูลฐานในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. จำนวนครั้งของการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสามารถดูแลตัวเองได้
3. ร้อยละของหน่วยบริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารระสุขกำหนด
4. จำนวนครัวเรือนที่สามารถนำสมุนไพรไปใช้อย่างถูกวิธีเพิ่มขึ้น
5. จำนวนผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น
6. จำนวนบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินผ่านการอบรมและรับรองจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพิ่มขึ้น
7. จำนวนทุกกลุ่มวัยได้รับการคัดกรอง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น

แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของประชาชนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแกประชาชนในพื้นที่
3. พัฒนาระบบบริการสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มวัย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช่พืชสมุนไพรและแพทย์ทางเลือก
5. พัฒนาเครือข่ายและผู้ดูแลผู้สูลอายุและคนพิการ
6. พัฒนาระบบส่งต่อและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ฉุกเฉิน
7. ส่งเสริมทุกกลุ่มวัยให้ได้รับการคัดกรอง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ