วันป่าชุมชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566

สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ
พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการ
อนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวตล้อม และความหลากหลาย
ทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนในรูปแบบของป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการป่าชุมชนและได้ประโยชน์
จากป่าชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ
ของประเทศให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน
การประกาศให้มีวันป่าชุมชนแห่งชาติ เป็นการกำหนดวันในชิงสัญลักษณ์สำหรับการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ ณรงค์การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า ชุมชน ตลอดจนให้ทุกภาคส่วน
ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้
สมดังเจตนารมณ์พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่มุ่งหมายให้ชุมชนสามารถจัดการป่าชุมชนและ
ได้ประโยชน์จากป่าชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวตล้อม และความหลากหลาย
ทางชีวภาพของประเทศให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน ซึ่งพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมดูแลผืนป่า และใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ร่วมกันอนุรักษ์ได้สอดคล้องกับ
หลักวิชาการ และเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
ปัจจุบันมีป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน ที่ได้รับการส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชน กระจายอยู่
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า ๑๑,๕๔๕ แห่ง รวมเนื้อที่ประมาณ ๒.๕- ล้านไร่ มีชุมชนร่วมบริหาร
จัดการป้ามากกว่า ๑๓,๖๓๔ หมู่บ้าน โดยชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษา ตลอดจน
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนในรูปแบบ
ของป่าชุมชน สอดคล้องกับวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
จึงขอรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเครือข่ายป่าชุมชน หน่วยงาน องค์กร และภาคประชาชน
ตระหนักถึงความสำคัญของป่าชุมชนโดยร่วมกันจัดกิจกรรมการต่าง ๆ อาทิเช่น การปลูกต้นไม้ การบำรุงรักษา
ป่าชุมชน การทำฝายชะลอน้ำ การลาดตระเวน หรือการทำแนวกันไฟ ในวันดังกล่าว เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน
ในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ทำให้ป่าเกิดความอุดมสมบูรณ์ ยั่งยืน สืบทอด
เป็นมรดกตกทอดไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลานสืบไป
“ป๋าชุมชน ป่ายั่งยืน ประชาชนได้ประโยชน์”

เว็บไซต์นี้ใช้ cookies ของคุณเพื่อให้ประสบการณ์การเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ของคุณได้อย่างดีที่สุด คุณยอมรับการบันทึกข้อมูล cookies หรือไม่